จุดเริ่มต้น อพ.สธ.- สสน.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9) ทรงมีสายพระเนตรยาวไกลทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในปี พ.ศ. 2503 ทรงอนุรักษ์ต้นยางนา ในปี พ.ศ. 2504 ทรงให้นำพรรณไม้จากภูมิภาคต่างๆ มาปลูกไว้ในสวนจิตรลดาเพื่อเป็นแหล่งศึกษา และทรงมีโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากร พัฒนาแหล่งนํ้า การอนุรักษ์และพัฒนาดินอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เป็นการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสืบทอดพระปณิธานต่อ โดยมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ โดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ได้เริ่มดำเนินการ โดยฝ่ายวิชาการ สำนักพระราชวัง เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับงบประมาณดำเนินงานนั้น

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) ได้รับพระราชทานพระอนุญาตให้เข้าร่วมโครงการ อพ.สธ. โดยเป็นหนึ่งในหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริฯ (G2 - กลุ่มสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช) โดยการจัดทำระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ชุมชน

การจัดทำระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ได้ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำในการจัดทำระบบ โดยมีโรงเรียนสมาชิกจำนวน 52 โรงเรียน ร่วมทดสอบการใช้งานของระบบ ผลของการดำเนินงานมีข้อมูลพรรณไม้ของโรงเรียนเข้ามาเป็นจำนวนรวม 5,397 ข้อมูล จากการดำเนินงานในส่วนนี้ จึงได้มีแนวคิดในการประยุกต์การใช้งานระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนนำมาใช้กับชุมชนเพื่อเผยแพร่การใช้งานและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะใช้ชื่อว่า "ฐานข้อมูลพรรณไม้ชุมชน" โดยเลือกชุมชนที่อยู่ในโครงการเครือข่ายการบริหารจัดการน้ำชุมชน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะข้อมูลทางด้านพฤกษศาสตร์และรวมถึงข้อมูลทางด้านเกษตรกรรม

วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน

  1. ขยายผลและพัฒนาระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ในระดับโรงเรียนไปสู่ระดับชุมชน
  2. เชื่อมโยงสถาบันการศึกษากับชุมชน และชุมชนกับชุมชนเกิดเป็นเครือข่ายการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชชุมชน
  3. ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชเฉพาะถิ่น และพืชเศรษฐกิจของชุมชน

ความเชื่อมโยงของหน่วยงาน

หน่วยปฏิบัติการ กิจกรรม
ชุมชน เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ
  1. สำรวจและบันทึกพืชพรรณไม้ที่สำคัญในท้องถิ่น เช่น พืชเศรษฐกิจ พรรณไม้ในป่าชุมชน ป่าต้นน้ำ พืชสมุนไพรในท้องถิ่น จัดทำเป็นชุดข้อมูล และภาพถ่าย อนุกรมวิธานเบื้องต้น
  2. บันทึกข้อมูลลงในระบบฐานข้อมูลฐานข้อมูลพรรณไม้ชุมชน
เครือข่ายการจัดการน้ำชุมชน 5 ชุมชนบ้านลิ่มทอง จ.บุรีรัมย์ / บ้านป่าสักงาม จ.เชียงใหม่ / บ้านโนนขวาง จ.บุรีรัมย์ / บ้านโนนรัง จ.นครราชสีมา / บ้านห้วยปลาหลด จ.ตาก
  1. สำรวจและศึกษาข้อมูลร่วมกับเครือข่าย
  2. นำข้อมูลมาใช้ประกอบกับการวางแผนการบริหารจัดการน้ำของชุมชน
  3. ผลักดันให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในท้องถิ่น
สถาบันการศึกษาในพื้นที่มหาวิทยาลัย/สถาบันราชภัฎ/วิทยาลัยเกษตรกรรม/โรงเรียน
  1. ร่วมสำรวจและให้ข้อมูลวิชาการเบื้องต้นแก่ เยาวชน นักเรียน และผู้ที่สนใจในท้องถิ่น
  2. ตรวจสอบข้อมูลอนุกรมวิธานเบื้องต้นให้กับชุมชน
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
  1. ให้ความรู้ทางวิชาการเบื้องต้น แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่สนใจ
  2. ตรวจสอบข้อมูลให้มีความถูกต้องก่อนเผยแพร่
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
  1. พัฒนาและดูแลระบบ
  2. สร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย

แผนการดำเนินงาน

ส่วนของการดำเนินงาน
  1. ระยะปีแรกจะเริ่มนำระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้สวนพฤกษศาตร์มาประยุกต์ใช้กับชุมชนในชื่อว่า "ฐานข้อมูลพรรณไม้ชุมชน" โดยมีชุมชนในเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชน ตัวอย่าง 5 ชุมชน
  2. ระยะยาวจะขยายเครือข่ายการใช้งานระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้สวนพฤกษศาตร์ให้เพิ่มขึ้น ตามการขยายเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชน โดยใช้งบประมาณที่ได้จากโครงการ "การจัดการทรัพยากรน้ำในระดับชุมชน"
ส่วนของระบบ
  1. ในส่วนของการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมาประยุกต์การใช้งานเพื่อให้มีความเหมาะสมกับชุมชน
  2. ในส่วนของการนำเสนอข้อมูลบนแผนที่ ได้มีการปรับปรุงแผนที่โดยเฉพาะในส่วนของข้อมูลตำแหน่ง จะทำการเพิ่มตำแหน่งสถานที่ของชุมชนที่ใช้งานระบบ รวมทั้งข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็น ขึ้นแสดงผลบนแผนที่ Internet GIS