Post
รายงานประจำปี 2565

October 19, 2023

รายงานผลการดำเนินงาน
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ชุมชนและความรู้ใหม่จากปราชญ์ชาวบ้าน ปี ๒๕๖๕

โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (อพ.สธ. – สสน.)

ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้าร่วมถวายงาน ในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยได้จัดทำฐานข้อมูลทะเบียนพรรณไม้บนระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้คณะครูและนักเรียนที่เป็นสมาชิกใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนภาพ ข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ในบริเวณโรงเรียน และพรรณไม้ประจำถิ่น จากนั้น ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ สสนก. เข้าร่วมถวายงาน ฐานข้อมูลพรรณไม้ชุมชนเพิ่มเติมจากงานในส่วนของฐานข้อมูลทะเบียนพรรณไม้สวนพฤษศาสตร์โรงเรียน โดยจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ชุมชนบนระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ชุมชนเครือข่ายบริหารจัดการน้ำที่เป็นสมาชิกใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลภาพพรรณไม้ ข้อมูลด้านเกษตรและพรรณไม้ประจำท้องถิ่น ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ สสนก. ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นมา
ทั้งนี้ สสน. ได้กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานโครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ชุมชน ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ระยะ ๕ ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ – กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔) โดยยึดพระราชดำริและแนวทางในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานไว้ให้กับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) เป็นหลัก โดยมีกรอบการดำเนินงาน ดังนี้
๑. รวบรวมองค์ความรู้และสร้างความร่วมมือการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของท้องถิ่น
ร่วมกับชุมชน เยาวชน โรงเรียน หน่วยงานท้องถิ่น กำหนดขอบเขตพื้นที่เป้าหมายในชุมชนสำรวจ
บันทึกข้อมูลพรรณไม้ และองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น บันทึกพิกัดตำแหน่งพืชท้องถิ่นที่สำคัญ
วางเส้นทางศึกษาพรรณไม้ กำหนดจุดศึกษาความหลากหลายของระบบนิเวศ
๒. การสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช
ร่วมกับชุมชน เยาวชน โรงเรียนและหน่วยงานเครือข่ายโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ โดยนำเทคโนโลยี
สารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่นแผนที่ภูมิศาสตร์ ภาพถ่ายจากดาวเทียม เครื่องมือ
ระบุตำแหน่งพิกัดบนพื้นผิวโลก มาร่วมทำสำรวจกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษา กำหนดจุดศึกษา
ความหลากหลาย และบันทึกตำแหน่งพรรณไม้ที่สำคัญ
๓. การปลูกรักษาพันธุกรรมพืชในท้องถิ่น
ดูแล รักษา ขยายพันธุ์ ปลูกทดแทน พืชอาหาร พืชสมุนไพร พืชใช้สอย พืชเศรษฐกิจ พืชอนุรักษ์
๔. การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พรรณพืช
เชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างรายได้จากคุณค่าทางอาหาร
ของผักท้องถิ่น สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
๕. การสร้างแหล่งข้อมูลพรรณพืชชุมชน
สนับสนุนกิจกรรมให้เยาวชนค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม รวบรวมจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบตรวจสอบแก้ไข สร้างแหล่งรวบรวมข้อมูลอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในท้องถิ่น บันทึกและปรับปรุงข้อมูลลงในระบบฐานข้อมูลพรรณพืชชุมชน เผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
๖. การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
เน้นกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนเกิดความสงสัยและตั้งคำถามเพื่อค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งข้อมูล
ต่างๆ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น อาทิเช่นความรู้ด้านคุณค่าทางอาหาร สรรพคุณทางสมุนไพร ลักษณะเด่น
และคุณค่าทางเศรษฐกิจ
๗. รวบรวมความรู้ใหม่ด้านการเกษตร
จากเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกิดเป็นระบบฐานข้อมูล
๘. สรุปและถ่ายทอดความรู้ใหม่จากปราชญ์ชาวบ้านในเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชน ด้วยวิทยาศาสตร์